“อิคคิวซัง!!……จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน พักเดี๋ยวนึงสิครับ” เสียงสดใสจากตัวการ์ตูนเณรน้อยที่เราคุ้นเคยกันดีนี้ เป็นการ์ตูนวัยเด็กในดวงใจของใครหลายๆคน เรื่องราวของเณรน้อยเจ้าปัญญาที่เต็มไปด้วย ความสดใส กับเหล่าเณรน้อยในวัดอังโคะคุจิ ที่ต้องใช้ปัญญาแก้ปัญหาสนุกๆแบบ “ปุจฉา-วิสัชนา” รวมทั้งตัวละครที่เราคุ้นเคยกันดี อย่างเช่น เจ้าอาวาส ซามุไร และท่านโชกุนนั้น ไม่น่าเชื่อนะคะว่าการ์ตูนสนุกๆที่เต็มไปด้วยแง่คิดเรื่องนี้ จะสร้างมาจากเค้าโครงจริง!! ย้อนกลับไปในญี่ปุ่นเมื่อประมาณ 600 ปีก่อน!!
เรื่องราวของอิคิวซัง เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.1937 หรือประมาณ 600 ปีที่แล้ว ในยุคที่ญี่ปุ่นเกิดสงครามกลางเมือง มีการรบแย่งชิงอำนาจกันระหว่างจักรพรรดิ และโชกุนตะกลูต่างๆ อิคิวซัง ชื่อขณะนั้น คือ เซ็นงิกุมารุ เกิดในวันที่ 1 มกราคม เป็นราชบุตรของพระจักรพรรดิโกโคมัตสึ และเจ้าจอมอิโยะโนะ ทัตสึโยเนะ เนื่องจากปัญหาการเมืองภายในราชวงค์ ทำให้ท่านแม่ของอิคคิวซังถูกใส่ร้าย และต้องหนี้ออกมาจากวัง เจ้าจอมอิโยะเป็นห่วงความปลอดภัยของบุตรชาย จึงตัดสินใจให้บุตรชายบวชอยู่ที่วัดอังโคะคุจิ วัดนิกายริไซเซน ที่เมืองโตเกียว ตั้งแต่อายุได้เพียงแค่ 5 ขวบ
ฉายาแรกที่ได้รับเมื่อบวชได้ 1 ปีคือ “ชูเค็น” ตั้งโดยหลวงพ่อไกคัง เจ้าอาวาสประจำวัดอังโคะคุจิที่ช่วยเลี้ยงดูอิคคิวตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้นอายุได้ 16 ปี อิคิวได้เห็นความเสื่อมโทรมของศาสนา ทั้งวัด และพระมุ่งหวังเอาแต่เงินบริจาคจากประชาชน อิคคิวระบายความอัดอั้นตันใจนี้ออกมาเป็นกลอน วิพากษ์วิจารณ์ศาสนาอย่างรุนแรง ในปีต่อมาเมื่ออายุได้ 17 ปี อิคิวก็ตัดสินใจลาออกจากวัดอังโคะคุจิไป
ต่อมาอิคคิวย้ายไปอยู่วัดไซคอนจิ ซึ่งเป็นวัดเล็กๆ มีหลวงพ่อเคนโอ เป็นเจ้าอาวาสดูแลวัด ที่นี่อิคคิวได้เรียนรู้วิถีของศาสนาพุทธนิกายเซน อย่างแท้จริง และหลวงพ่อเคนโอ ก็ได้ตั้งฉายาใหม่ให้ว่า โซจุน ต่อมาเมื่อหลวงพ่อเคนโอที่อิคิวซังนับถือเป็นอย่างมากเสียชีวิตลง ขณะนั้นอิคิวอายุได้ 21 ปี ด้วยความกตัญญูที่มีอิคิวจึงทำการอดอาหาร เพื่อนั่งสมาธิสวดมนต์อุทิศส่วนกุศลให้หลวงพ่อเคนโอ เป็นเวลาถึง 7 วัน 7 คืน ช่วงนั้นอิคิวเกิดความสับสนกับเส้นทางชีวิตของตนเป็นอย่างมาก ไม่รู้ว่าทำอย่างไรกับชีวิตต่อดี อิคคิวจึงคิดฆ่าตัวตายด้วยการเดินลงแม่น้ำ แต่เมื่อร่างกายสัมผัสกับน้ำ อิคคิวก็นึกถึงใบหน้าของท่านแม่ขึ้นมา อิคคิวจึงตัดสินใจตะเกียกตะกายตัวขึ้นมาจากน้ำ เลิกท้อแท้สิ้นหวัง หันหน้าเข้าหาพระธรรม และฝึกฝนธรรมะอย่างจริงจังอีกครั้ง
โดยอิคคิวได้เดินทางไปศึกษาพระธรรมกับหลวงพ่อคะโซ พระที่เต็มไปด้วยความสมถะ และเคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม ที่วัดเซนโคอันซึ่งเป็นวัดสำคัญในสมัยนั้น เส้นทางการปฏิบัติธรรมของอิคคิวไม่ได้ราบรื่น เพราะอิคคิวต้องทำงานที่วัดอย่างหนัก ต้องหาเลี้ยงชีพตัวเอง ด้วยการสานร้องเท้า เย็บตุ๊กตา และด้วยความที่เป็นคนเถรตรง อิคคิวจึงขัดแย้งกับพระลูกวัดคนอื่นๆเป็นประจำ แต่ไม่ว่าจะมีปัญหาใดๆ ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรมของอิคคิวก็ไม่ลดละ จนในที่สุดอิคคิว ก็สามารถไขปริศนาธรรมของหลวงพอคะโซได้สำเร็จ หลวงพ่อคะโซจึงตั้งฉายาใหม่ให้ว่า อิคคิวโซจุน ซึ่งมีความหมายว่า “การพักจากโลกสมมุติ” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ อิคคิวซัง นั้นเอง
เมื่ออายุได้ 26 ปี อิคิวก็ได้บรรลุธรรม โดยที่หลวงพ่อคะโซตั้งใจว่าจะเขียนใบสำเร็จเปรียญธรรม ซึ่งเป็นเหมือนใบปริญญาของพระในสมัยนั้นให้ หลวงพ่อคะโซพร้อมจะแต่ตั้งอิคิวขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบทอดตำแหน่งต่อจากตนเอง แต่อิคิวกลับปฏิเสธ และบอกว่าใบสำเร็จเปรียญธรรมนั้นเป็นแค่เพียงเศษกระดาษ ตนไม่ต้องการที่จะยึดติดกับตำแหน่งลาภยศ อิคคิวจึงเดินทางออกจากวัดเซนโคอันเพื่อออกไปใช้ชีวิตด้วยตนเอง
เรื่องราวดำเนินมาถึงช่วงนี้ ก็ทำให้เราเห็นได้เลยว่านิสัยจริงๆของท่านอิคิวนั้น แตกต่างจากเณรน้อยในการ์ตูนมาก เพราะท่านอิคคิวเป็นพระหัวก้าวหน้า ที่มีความคิดเป็นอิสระ แปลกแยกจากคนในยุคสมัยนั้น เป็นพระขบถที่เกลียดการทำตัวหน้าไหว้หลังหลอกของพระด้วยกันเอง ถึงขนาดที่เข้าไปด่าทอกลุ่มพระผู้ใหญ่ในงานมรณภาพขอเจ้าอาวาสวัดดังวัดหนึ่ง จนชื่อเสียงความขบถของอิคิวโด่งดังไปทั่วเกียวโต อิคคิวปฏิเสธที่จะใช้วิธีการสอนศาสนาแบบแบบพระในยุคนั้น ที่ใช้ความศัทธาของประชาชนหลอกรับเอาเงินบริจาค โดยหันไปใช้ชีวิตแบบพระพเนจร เร่ร่อนไปในที่ต่างๆ และประกาศตัวต่อต้านพระที่หวังผลประโยชน์จากประชาชนอย่างแข็งกร้าว จึงทำให้อิคคิวเป็นที่เกลียดชังของพระระดับสูงในเกียวโตเป็นอย่างมาก
ในปี พ.ศ. 1972 อิคิว และลูกศิษย์จำนวนหนึ่งที่นับถือในหลักการแบบเดียวกัน ก็ได้รวมตัวกันก่อสร้างวัดเมียวโซจิขึ้นมา ในช่วงนั้นบ้านเมืองกลับเข้าสู่ยุคสงครามและความขัดแย้งอีกครั้ง วัดเมียวโซจิถูกเผาทำลายจากสงครามถึงสองครั้ง อิคิวก็บูรณะวัดขึ้นมาใหม่อีกถึง 2 ครั้ง จนถึงช่วงปั้นปลายชีวิต สงครามโอนิน สงครามแย่งชิงอำนาจของเหล่าโชกุนก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้อิคคิวต้องหนี้ภัยสงครามออกจากวัดเมียวโซจิ ธุดงค์เร่ร่อนไปถึงเมืองนารา จนมาถึงเมืองซึมิโยชิ อิคคิวก็ได้พบกับศิลปินหญิงตาบอดที่ชื่อว่า โมริ อิคคิวประทับในการสู้ชีวิต และความสามารถของนางมาก ท่านจึงรับนางมาเป็นภรรยา(พระนิกายเซ็นของญี่ปุ่นสามารถมีภรรยาได้นะคะ) และเมื่อสงครามสงบลง อิคคิว กับภรรยาก็กลับมาอาศัยอยู่ที่วัดเมียวโซจิอีกครั้ง
ในปี พ.ศ.2017 ชื่อเสียง ความเจ้าปัญญา และการเป็นพระนักปฏิบัติที่แท้จริงพระอิคคิว ก็เป็นที่นับถือของประชาชนทั่วเกียวโต ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิให้ขึ้นเป็น เจ้าอาวาสวัดไดทกกุจิซึ่งเป็นวัดหลวงที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น แต่เพราะปฏิเสธคำสั่งขององค์จรรพดิไม่ได้ อิคคิวจึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไดทกกุจิแค่เพียงวันเดียว แล้วก็กลับมาอยู่ที่วัดเมียวโซจิตามเดิม จนถึงวัย 87 ปี ในปี พ.ศ. 2024 พระอิคคิวก็มรณภาพด้วยโรคชราในท่านั่งสมาธิ
วัดเมียวโซจิที่อิคิวซังสร้าง ปัจจุบันคือ วัดชูอนอันอิคคิว!!
วัดเมียวโซจิที่พระอิคคิวสร้างขึ้นมายังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน โดยเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดชูอนอันอิคคิว วัดนี้ตั้งอยู่ที่เมืองเกียวโต ในวัดมีรูปปั้นของพระอิคคิวตัวจริง และยังเป็นที่ตั้งหลุมฝั่งศพของท่านอีกด้วย!! ใครไปเที่ยวญี่ปุ่นก็แวะไปเที่ยวชมกันได้ค่ะ
เรื่องราวของอิคคิวซังตัวจริงนั้น แตกต่างจากการ์ตูนสนุกใสๆที่เราเคยรู้จัก ชีวิตของอิคคิวซังตัวจริงเต็มไปด้วย สงคราม การเมือง และการคิดปฏิวัติวงการศาสนา แต่ถึงจะแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว แต่หลักธรรมที่พระอิคคิว กับเณรน้อยอิคคิวเจ้าปัญญาสื่อออกมาให้ผู้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ก็เหมือนกัน ก็คือ ต้องการให้ผู้คนทำความดี ละทิ้งจากการยึดติดกับโลกของวัตถุมายา เหมือนกับความหมายของชื่อ “อิคคิว” ที่แปลว่า การพักจากโลกมายาที่วุ่นวายนั้นเอง “จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน พักเดี๋ยวนึงสิครับ”
ที่มา : BiRdY-CH /ikkyusan / shuonan ikkyuji temple
เป็นคนชอบอ่าน เลยชอบเขียน ยินดีที่ได้รู้จักกันกับเพื่อนใน Akerufeed ทุกคนค่ะ รอตามตามผลงานของเราด้วยนะ ถึงจะใหม่ แต่ตั้งใจเต็มร้อย Fightingค่ะ!!