Now Reading
6 ข้อเสียของการไม่ออกกำลังกาย ส่งผลร้ายต่อสุขภาพในระยะยาว

6 ข้อเสียของการไม่ออกกำลังกาย ส่งผลร้ายต่อสุขภาพในระยะยาว

การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ฟังดูเหมือนง่ายแต่ให้ทำจริงอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน แค่ทำงานใช้ชีวิตในแต่ละวันก็เหนื่อยมากพอ จะเอาเวลาที่ไหนไปออกกำลังกาย สิ่งนี้จึงกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการมีสุขภาพที่ดี ว่าแต่ไม่ออกกำลังกายจะส่งผลเสียต่อร่างกายจริงหรือ วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบหากเราไม่ยอมออกกำลังกาย จะส่งผลร้ายต่อร่างกายสุขภาพในระยะยาวอย่างไร พร้อมแล้วไปดูกันค่ะ

1.ไขมันสะสมรอบเอวหนา

เมื่อขาดการออกกำลังกายติดต่อกันเป็นเวลานาน กระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายจะทำงานได้ลดลง ส่งผลต่อระบบการเผาผลาญกำจัดไขมันที่ขาดประสิทธิภาพ หากเราเป็นคนที่ชอบทานจุกจิกมากเกินไปแคลอรี่ส่วนเกินจะไม่สามารถเผาผลาญได้ทันเวลา กลายเป็นไขมันสะสมในร่างกายทีละเล็กทีละน้อย ด้วยวิถีชีวิตของคนปัจจุบันที่เป็นมนุษย์ออฟฟิศนั่งแช่ทำงานบนโต๊ะ ตลอดทั้งวันแถมยังไม่ออกกำลังกาย เมื่อเวลาผ่านไปไขมันส่วนเกินก็จะเข้ามาสะสมตามรอบเอวเป็นวงกลมหนากลายเป็นคนอ้วนลงพุง เป็นภัยร้ายต่อหุ่นสวยส่งผลแย่ต่อสุขภาพที่ดี

2.กล้ามเนื้อลีบ

กล้ามเนื้อลีบและการทำงานที่มีประสิทธิภาพลดลงเป็นหนึ่งในสัญญาณของความแก่ชราของมนุษย์ ผลการวิจัยศึกษาพบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมนุษย์ทุกคนจะลดลงประมาณ 15% ทุก ๆ 10 ปี เมื่อมีอายุ 50 ปี และลดลงประมาณ 30% ทุก ๆ 10 ปีเมื่ออายุ 70 ปี หากเราขาดการออกกำลังกายในวัยเด็กขาดนิสัยออกกำลังกาย มวลกล้ามเนื้อจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงวัยกลางคนไปจนถึงช่วงวัยสูงอายุ นำไปสู่ ปัญหาโรคกระดูกต่างๆ ทำให้เดิน ยืน ลำบาก กระดูกอ่อนแอแตกหักได้ง่ายเป็นอันตรายต่อสุขภาพในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3.ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง

ความแข็งแรงของกระดูกมนุษย์สัมพันธ์กับปริมาณแคลเซียมที่ได้รับ หลังจากอายุ 25 ปีมนุษย์เราจะสูญเสียแคลเซียม 1-2% ต่อปีและสตรีวัยหมดประจำเดือนจะสูญเสียแคลเซียมเฉลี่ย 3 -5% ในทุกๆปี ยิ่งแคลเซียมในกระดูกต่ำลงเท่าใดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อเาขาดการออกกำลังกายเป็นเวลานานร่างกายก็จะเริ่มดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง ถึงแม้ว่าเราจะดื่มนมเพิ่มปริมาณแคลเซียมในตอนเป็นผู้ใหญ่มากเท่าไหร่ ร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้ดีเท่าที่ควร เมื่อร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ไม่ดีก็ส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูกอาจเกิดปัญหาโรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ เพิ่มความเสี่ยงของโรคกระดูกในตอนสูงอายุให้มากขึ้น

4.เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆมากขึ้น

ข้อมูลการสำรวจขององค์การอนามัยโลกแสดงให้เห็นว่าอัตราการออกกำลังกายของคนทั่วโลกในกลุ่มอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นปริมาณแค่ 31.1%  ซึ่งส่งผลเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม 21-25% โรคเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่  27%  โรคเบาหวาน  30% โรคหัวใจขาดเลือด 10% ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ องค์การอนามัยโลกยังชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอยังเป็นนักฆ่าอันดับหนึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆและเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การตายที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

5.รู้สึกเหนื่อยเพลียง่าย

เมื่อเรามีอายุที่มากขึ้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะค่อยๆลดลงและแคลเซียมก็จะหายไป หากเราไม่ออกกำลังกายเป็นเวลานานสถานการณ์นี้จะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และในที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ดี ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงและปริมาณแคลเซียมที่ลดลงจะส่งผลทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลียง่าย รู้สึกปวดกระดูก ฯลฯ ขาดพลังงาน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจที่ดีในระยะยาว

6.อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย

จากการศึกษาวิจัยพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างพลังทำให้สมองของเราหลั่งสารเอนดอร์ฟินสร้างอารมณ์ผ่อนคลาย มีความสุข ช่วยทำให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น โดยการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายให้สุมดุลส่งผลต่ออารมณ์ที่คงที่ แต่หากเราขาดการออกกำลังกายเป็นเวลานาน จะทำให้เราเป็นคนหงุดหงิดอารมณ์เสียง่าย  แน่นอนว่าอารมณ์ความเครียดย่อมส่งผลร้ายต่อสุขภาพที่ดีของเราแน่นอนค่ะ

การออกกำลังกายเป็นประจำนอกจากจะทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงสุขภาพดีพร้อมสู้กับโรค ยังทำให้เรามีจิตใจที่ผ่านคลาย อยากเปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ลองหันมาออกกำลังกายเล็กๆน้อยเป็นประจำทติดต่อกันสัก 1 เดือน รับรองว่าทุกคนต้องทึ่งกับการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีของร่างกายตัวเองแน่นอน

ที่มา:urbanlifehk
ที่มาภาพ:yiyinisme,madememory,codipop,kpopfeets,koreaboo,
3.48kg,nana-addiction,balifor,yuuuuuukko,blog.naver
View Comments (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published.

CAPTCHA


Scroll To Top