
ทุกคนเคยสัปหงกบนที่นอน แล้วเหมือนถูกดึงออกมาจากการนอนหลับโดยฉับพลัน หรือรู้สึกว่าร่างกายกระตุกหรือเปล่า?
หากคุณกำลังหลับแล้วรู้สึกว่าคุณถูกผลักลงมาจากตึกสูงๆ หรือรู้สึกเหมือนตัวลอยอย่างอยู่กลางอากาศช่วงหนึ่ง แล้วก็นึกได้ว่ามันเป็นความผิดพลาด จากนั้นร่างกายของคุณก็ถูกดึงกลับมาที่เตียงนอน
นักวิทยาศาสตร์เรียกความรู้สึกนี้ว่า การกระตุกขณะหลับ (hypnic jerk) ซึ่งมีคนที่เคยเจอประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้มากถึง 70% – หากสนใจในเรื่องนี้ก็สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ เจอแล้ว! สาเหตุอาการ “Hypnic jerk”ผวาตกจากที่สูงเมื่อนอนหลับ
มันคืออะไรกันแน่นะ?
ช่องว่างระหว่างการนอนไม่หลับและช่วงเคลิ้มหลับนั้นรู้จักกันในชื่อ (Hypnagogic stage ระยะที่อยู่ระหว่างตื่นและหลับ) ระหว่างที่อยู่ในระยะนี้เลยเป็นเรื่องง่ายที่สมองของคุณจะถูก“กระชาก” กลับไปสู่ภาวะตื่นตัว ที่คล้ายกับการกระตุกของกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว
และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนระหว่างการกระตุกขณะหลับ เมื่อกล้ามเนื้อของคุณกระตุก และสมองของคุณก็จะสั่งงานว่า “นี่ๆ ตื่นได้แล้วมีบางอย่างกำลังเกิดขึ้น!”
ทำไมมันถึงเกิดขึ้นได้นะ?
ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว การกระตุกขณะหลับไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลเท่าไหร่นัก แต่ในบางกรณี ขณะที่กล้ามเนื้อเริ่มผ่อนคลายในช่วงที่เตรียมตัวนอนหลับ สมองก็จะได้รับความสับสนเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงคิดว่าร่างกายกำลังจะตก และรัดกล้ามเนื้อให้ตึงเพื่อรองรับการกระทบจากการตก และแม้ว่ามันมักจะเป็นเพียงแค่การเข้าใจผิดธรรมดา แต่สำหรับบางคน การกระตุกในขณะที่หลับสามารถกลายเป็นอาการของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้
สาเหตุทางการแพทย์ของการกระตุกขณะหลับ
1. Restless legs syndrome (RLS) – กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข
มีประชากร 10% ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการขาอยู่ไม่สุข ที่เกิดมาจากการสั่นและความรู้สึกเจ็บปวดที่ขาของพวกเขา โดยนักวิจัยคาดการว่าอาการ RLS เกิดจากกรรมพันธุ์ แต่ก็อาจมีความเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นด้วยเช่น
– ภาวะไตล้มเหลว
– โรคเบาหวาน
– การบริโภคแอลกอฮอล์
– การนอนหลับไม่เพียงพอ
2. รอยโรคในสมอง (Brain Lesions)
มีการศึกษาจำนวนหนึ่งแสดงให้เห็นว่า อาการกระตุกขณะหลับจะเกิดขึ้นบ่อยกับคนที่เป็นรอยโรคในสมอง
รอยโรคในสมอง (Brain lesion) เกิดเมื่อพื้นที่ของเนื้อเยื่อสมองได้รับความเสียหายโดยจากโรคภัยไข้เจ็บหรือการบาดเจ็บทางร่างกาย
นอกจากการกระตุกขณะหลับแล้ว รอยโรคในสมองยังสามารถเกิดอาการอื่นได้อีกเช่น ปวดหัว ปวดคอ คลื่นไส้ สูญเสียความจำ และอาการชัก
3. ความวิตกกังวล
นักวิจัยได้บันทึกไว้ว่า ความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการพบกับอาการกระตุกขณะหลับ จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นขึ้นอยู่กับความเครียดและระดับความกังวลของพวกเขาเอง
นักวิจัยก็ยังไม่แน่ใจนักว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น แต่หากคุณต้องทรมานกับโรควิตกกังวล และก็มีอาการอาการกระตุกขณะหลับตามมา ลองปรึกษาแพทย์หรือไม่ก็ศึกษาเกี่ยวกับวิตามินเสริมบางชนิดที่สามารถช่วยได้
4. ความผิดปกติของการนอนหลับ
ความผิดปกติของการนอนหลับจำนวนมากอย่างเช่น โรคลมหลับ (Narcolepsy) ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง การทำงานนี้อาจรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของสารที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาท และความเสี่ยงของอาการกระตุกขณะหลับที่เพิ่มขึ้น
เมื่อมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการนอนหลับ การกระตุกขณะหลับจึงมักมาพร้อมกับอัมพาตและอาการประสาทหลอน
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าการกระตุกขณะนอนหลับอาจมาจากปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ ดังนั้นหากคุณมีอาการกระตุกที่ดูผิดปกติ และส่งผลให้เรานอนหลับอย่างไม่มีความสุข ก็ให้รีบไปปรึกษาแพทย์นะคะ อย่าปล่อยทิ้งไว้ ไม่อย่างนั้นอาจมีเรื่องใหญ่กว่านี้ให้คุณต้องกังวลตามมาก็ได้
หลงใหลในความเป็นญี่ปุ่น~ ชอบเล่าเรื่องราวผ่านตัวหนังสือ ยินดีที่ได้รู้จักนะ : )