Now Reading
คลำพบก้อนเนื้อที่เต้านม..อันตรายแค่ไหนกัน?!

คลำพบก้อนเนื้อที่เต้านม..อันตรายแค่ไหนกัน?!

“ไฟโบร-อดีโนมา”  คือก้อนเนื้อบริเวณเต้านมที่มักพบได้บ่อยในผู้หญิงอายุ 20 ขึ้นไป และส่วนใหญ่เจ้าก้อนเนื้อนี้ก็จะมีก้อนใหญ่ๆ เพียงก้อนเดียว ฟังๆ ดูแล้วเจ้าก้อนเนื้อชนิดนี้อาจดูน่ากลัว แต่ที่จริงแล้วมันไม่ได้มีอันตรายหรือร้ายแรงอย่างที่คิดค่ะ

 

Fibroadenoma

echotherapie

 

ไฟโบร-อดีโนมา เป็นก้อนเนื้อที่มักจะตรวจเจอได้บ่อยมาก บางทีก้อนเนื้อนี้จะถูกเรียกว่า “ซีสต์” หรือไขมันเล็กๆ ในเต้านม เจ้าก้อนเนื้อนี้ไม่ค่อยถูกพบในคนแก่เท่าไหร่ ลักษณะของก้อนเนื้อนี้สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้ มีขนาดแข็ง ใหญ่ประมาณ 1-5 เซนติเมตร และจะไม่โตไปกว่านี้ ปกติแล้วก้อนเนื้อชนิดนี้จะไม่ทำให้เรารู้สึกเจ็บ ยกเว้นช่วงประจำเดือนใกล้มาที่เราอาจจะรู้สึกเจ็บเป็นพิเศษ

breast

gyakushoku, weheartit

ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดเนื้องอกชนิดนี้ขึ้น ทราบแค่เพียงว่ามันเป็นเนื้องอกที่มาจากพังผืดและเนื้อเยื่อจากต่อมน้ำนม และเมื่อคลำดูก็จะรู้สึกว่ามันกลิ้งไปมาได้  ส่วนวิธีการรักษานั้นก็คือ สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเอามันออก

ไฟโบร-อดีโนมาแตกต่างจากมะเร็งเต้านมอย่างไร

ก้อนเนื้อ1

Naver, welq

 

ลักษณะของไฟโบร-อดีโนมาค่อนข้างแตกต่างจากก้อนมะเร็งเต้านมอย่างเห็นได้ชัดเจน ลักษณะของก้อนเนื้อชนิดนี้มีผิวขาว สม่ำเสมอ มีเนื้อผิวที่เรียบ เมื่อคลำดู ก้อนเนื้อจะเคลื่อนที่ได้ แต่ก้อนมะเร็งเต้านมจะมีเนื้อผิวขรุขระ แถมเราสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่าเต้านมมีรอยบุ๋มลงไปอีกด้วย

large (12)

weheartit

 

ซึ่งบางครั้งเวลาที่เราไปตรวจแมมโมแกรม แล้วเกิดเป็นมะเร็งเต้านมจริงๆ แต่มะเร็งมันยังไม่โต ก็สามารถถูกเข้าใจผิดว่าเป็นไฟโบร-อดีโนมาได้เช่นกันค่ะ

Fibroadenoma

 favim

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เวลาคลำเต้านมแล้วเจอก้อนเนื้อก็ไม่ต้องตกใจ ลองสังเกตดีๆ ว่าก้อนเนื้อที่เราพบมันกลิ้งไปมาได้หรือเปล่า ถ้าใช่ก็ถอนหายใจโล่งอกไปเปราะนึงค่ะ ยังไงซะ ทางที่ดีควรไปหาหมอเพื่อตรวจวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนได้ต้องไม่เป็นกังวลใจนะคะ 

View Comments (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published.

CAPTCHA


Scroll To Top