Now Reading
รูปร่างแบบไหนถึงเรียกว่าอ้วน!?

รูปร่างแบบไหนถึงเรียกว่าอ้วน!?

เมื่อพูดถึง “ความอ้วน” ไม่ได้หมายถึงการมีไขมันที่หน้าท้องเพียงอย่างเดียว แต่ที่จริงแล้วความอ้วนในร่างกายมีหลายลักษณะที่แตกต่างกันออกไป

เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีผลการวิจัยสุขภาพจากยอร์คเชียร์ โดยนำผู้ใหญ่ 4,000 คนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน มาแบ่งออกเป็น 6 ลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • สุขภาพของวัยรุ่นผู้หญิง – ผู้หญิงวัยรุ่นส่วนใหญ่อ้วนมากเกินไป และมักมีโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับโรคอ้วน อย่างโรคเบาหวานประเภทที่ 2 (เบาหวานที่พบในคนส่วนใหญ่)
  • ผู้ชายนักดื่ม – ผู้ชายมีแนวโน้มบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สูงขึ้น
  • บุคคลวัยกลางคนที่ขี้กังวลและไม่มีความสุข – ผู้หญิงที่มีแนวโน้มสุขภาพจิตที่ไม่ดี
  • ผู้สูงอายุที่ร่ำรวยและมีสุขภาพดี – มีสุขภาพโดยทั่วไปที่ดี แต่มีแนวโน้มที่จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงขึ้น และมีความดันเลือดที่สูงขึ้นตามไปด้วย
  • ผู้สูงอายุที่ป่วยแต่มีความสุข – ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังแต่ก็ยังมีความสุข
  • ผู้ที่มีสุขภาพแย่ที่สุด – คนที่ขาดสิ่งจำเป็นในชีวิต อย่างปัจจัย 4  มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นมากที่สุด

ผลการวิจัยนี้มีความสำคัญมากเพราะการที่จะต่อสู้กับโรคอ้วนนั้นต้องรู้และเข้าใจสาเหตุที่เกิดขึ้นก่อน และนี้คือขั้นตอนที่จะมุ่งไปสู่การรักษาโรคอ้วนค่ะ

ถึงแม้ว่าข้อความในข้างต้นจะไม่ได้แสดงถึงผลการวิจัยนี้ แต่ก็สามารถเข้าใจได้ว่าเราจำเป็นที่จะต้องกำจัดความอ้วนที่มากเกินไปออกจากร่างกายกันสักที!!

shutterstock_65135824 (1)

ไขมัน 2 ลักษณะที่กระจายอยู่ตามร่างกาย: รูปร่างแบบแอนดรอยด์ (Android) และรูปร่างแบบไกลนอยด์ (Gynoid)

รูปร่างแบบแอนดรอยด์ (Android) หรือรูปร่างแบบแอปเปิ้ล (Apple shape)เกิดจากการที่มีไขมันสะสมบริเวณเอวและช่องท้องเป็นจำนวนมาก มักพบรูปร่างแบบนี้ในผู้ชาย”

รูปร่างแบบไกลนอยด์ (Gynoid) หรือรูปร่างแบบลูกแพร์ (Pear shape) เกิดจากไขมันสะสมบริเวณสะโพก มักพบรูปร่างแบบนี้ในผู้หญิง”

มาทำลายรูปร่างตามหมายเลขต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวคุณกันเถอะ!

Fat-image-759x419

ที่มา: davidwolfe

1. ช่วงบนอ้วนเกินไป {รูปร่างแบบแอนดรอยด์ (Android)}

ลักษณะร่างกายแบบนี้เกิดจากการรับประทานอาหารที่มากเกินไป และออกกำลังกายไม่เพียงพอ พยายามงดของหวานและออกกำลังกายให้ได้วันละ 30 นาที แต่ถ้าหากทำเช่นนี้แล้วยังไม่ช่วยให้ส่วนบนคุณเล็กลงแนะนำให้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพค่ะ

2. ช่วงกลางท้องอ้วนเกินไป {รูปร่างแบบแอนดรอยด์ (Android)}

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในบริเวณนี้อาจเกิดจากความเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้า การออกกำลังกายและใช้เทคนิคการผ่อนคลายควบคู่กันเป็นวิธีที่ดีที่สุดของการแก้ปัญหานี้ อาจขอคำแนะนำจากนักบำบัด หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพก็ได้ค่ะ

3. ช่วงล่างอ้วนเกินไป {รูปร่างแบบไกลนอยด์ (Gynoid)}

ปัญหานี้พบได้บ่อยในผู้หญิงส่วนใหญ่ การออกกำลังกายกระชับสัดส่วนช่วงล่างจะช่วยขจัดไขมันส่วนเกิน ไปพร้อมๆ กับการออกกำลังกายในส่วนของหัวใจร่วมหลอดเลือด แม้ว่าการออกกำลังกายส่วนนี้ออกจะยากอยู่สักหน่อย แต่อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญค่ะ

4. หน้าท้องบวมเกินไป {รูปร่างแบบแอนดรอยด์ (Android)}

ไขมันบริเวณนี้เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือเกิดจากการหายใจลำบาก ควรลดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเน้นการออกกำลังกายช่วงลำตัวที่ช่วยในเรื่องของระบบหายใจ

5. ช่วงล่างอ้วนเกินไป รวมไปถึงขา {รูปร่างแบบไกลนอยด์ (Gynoid)}

ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์เพราะจะทำให้ขาบวม การแอโรบิกในน้ำจะช่วยให้กล้ามเนื้อกระชับและแข็งแรงขึ้น (หากกำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ควรแจ้งครูฝึกสอนให้ทราบล่วงหน้าค่ะ)

6. ช่วงท้องด้านบนและด้านหลังยื่น {รูปร่างแบบแอนดรอยด์ (Android)}

ปัญหาในข้อนี้มีสาเหตุคล้ายกับข้อที่ 1  การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ อย่าออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป และพยายามรับประทานอาหารทีละน้อย

สิ่งที่ดีที่สุดคือในการขจัดไขมันส่วนเกินก็คือ การรับประทานอาหารที่พอเหมาะและมีประโยชน์ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย แม้ว่าการมีปัญหาด้านฮอร์โมนและพันธุกรรมอาจจะทำให้คุณลดน้ำหนักไม่ได้ผล แต่อย่าลืมว่าคุณสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพเพราะพวกเขาสามารถช่วยคุณได้!

 

แผนภาพความอ้วน: เจาะลึกอาหารต้องห้ามที่จะทำลายส่วนต่างๆ ของร่างกาย!

 

View Comments (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published.

CAPTCHA


Scroll To Top